google ads
top of page
ค้นหา

ความท้าทายการทำ Digital Transformation ในยุค VUCA World

  • รูปภาพนักเขียน: Natchananphorn Phattharathammaphon
    Natchananphorn Phattharathammaphon
  • 30 ม.ค. 2566
  • ยาว 2 นาที

อัปเดตเมื่อ 18 ก.พ. 2566



เมื่อทุกธุรกิจในปัจจุบันต้องปรับตัวตามความผันผวนที่รวดเร็ว จึงทำให้หลาย ๆ ธุรกิจหันมาทำ “Digital Transformation” เพื่อให้มีความสอดคล้องกับ VUCA World ซึ่งช่วยทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตและสร้างความอยู่รอดต่อไปได้ รวมไปถึงสามารถนำพาธุรกิจหรือองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ จึงเป็นสิ่งที่ “ผู้นำ” ควรตระหนักและวางแผน เพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรหรือธุรกิจให้เท่าทันโลกแห่งความผันผวนอยู่เสมอ ดังนั้นวันนี้ DigiTech จะมาพูดถึง Digital Transformation ช่วยให้ทุกธุรกิจปรับตัวได้ทันในยุค VUCA World 2023 มาติดตามบทความของเราพร้อม ๆ กันเลย

ทำความรู้จัก Digital Transformation และ VUCA กันก่อน


จริงๆ แล้วหลายธุรกิจ หลายองค์กรได้จัดทำ Digital Transformation สำเร็จไปบ้างแล้ว จึงมีความสอดคล้องกับยุค VUCA ซึ่งอยู่ในโลกที่มีความผันผวนรวดเร็ว แต่ผู้คนส่วนใหญ่มักไม่รู้จักคำเหล่านี้ โดยเราจะมาอธิบาย พร้อมช่วยให้คุณเข้าใจและรู้จักคำเหล่านี้กันมากยิ่งขึ้น

Digital Transformation คือ การนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการวางรากฐาน เป้าหมาย การดำเนินธุรกิจ หรือสร้างกระบวนการใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปและความคาดหวังของลูกค้า จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการและดำเนินการธุรกิจโดยสิ้นเชิง

ส่วน VUCA World คือ โลกแห่งการผันผวน และมี 4 คำที่ก่อให้เกิดคำว่า “VUCA” ขึ้นมานั้นก็คือ

  • V (Volatility) หมายถึง ความผันผวน ยากที่จะคาดเดา ไม่สามารถตั้งตัวกับสถานการณ์ได้ทัน

  • U (Uncertainly) หมายถึง มีความไม่แน่นอนสูง ยากที่จะอธิบายให้ชัดเจน

  • C (Complexity) หมายถึง ความซับซ้อนสูง มีปัจจัยมากมายเข้ามาขณะตัดสินใจ

  • A (Ambiguity) หมายถึง มีความคลุมเครือ ไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ได้ล่วงหน้า

หากนำมาพิจารณาในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมากทีเดียว ที่จะต้องใส่ใจในเรื่องการ ‘ปรับตัว’ ซึ่งเห็นภาพได้ชัดที่สุดคือ ช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาดอย่างหนัก ที่ทำให้การดำเนินชีวิตของทุกคนทั่วโลกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง และนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้งานภายในองค์กรหรือธุรกิจมากขึ้น ก่อให้เกิดทักษะอาชีพ หรือกระบวนการทำงานขึ้นใหม่ แต่บางองค์กร บางธุรกิจก็ไม่สามารถปรับตัวให้กับเทคโนโลยีได้ทัน ส่งผลให้เป็นการทำลายองค์กร ธุรกิจ พร้อมทำลายบางอาชีพให้หายไป



ถ้าองค์กรอยากจะทำ Digital Transformation ต้องเริ่มเรียนรู้อะไรบ้าง


MIT Sloan Management Review เน้นย้ำ 3 ประเด็นสำคัญของ Digital Transformation สำหรับองค์กรหรือธุรกิจว่าควรเริ่มเรียนรู้จากอะไรบ้าง มีดังนี้


1. ประสบการณ์ลูกค้า (Customer Experience)

สำหรับองค์กรที่มุ่งเน้นความสำคัญของการบริการแก่ลูกค้า โดยนำ ‘เทคโนโลยีใหม่’ มาใช้ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ช่วยให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น และเป็นการมอบประสบการณ์ดี ๆ ให้แก่ลูกค้า

2. กระบวนการปฏิบัติงาน (Operational Processes)

ปรับปรุงระบบการทำงานต่าง ๆ ในองค์กร โดยให้มีความเป็น ‘Digital’ และ ‘Automation’ (ระบบอัตโนมัติ) มากยิ่งขึ้น รวมไปถึง ‘เครื่องมือดิจิทัล’ ที่ช่วยให้พนักงานทำงานได้เร็ว มีประสิทธิภาพ และลดระยะเวลาการทำงานให้น้อยลง

3. โมเดลธุรกิจ (Business Models)

ปรับโฉมธุรกิจด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ดิจิทัล พร้อมทั้งเครื่องมือและรูปแบบการให้บริการ โดยให้มองเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการ ‘บรรลุเป้าหมาย’ มากกว่าระบบที่ใช้ขับเคลื่อนธุรกิจ


ความท้าทายในการทำ Digital Transformation โลกในยุค VUCA World


เมื่อต้องเผชิญกับความท้าทายจากเศรษฐกิจโลกและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว หรือที่เรียกว่ายุค VUCA world นี้ได้เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ จึงทำให้หลายธุรกิจปรับตัว จัดทำ Digital Transformation แต่จะมี ‘ความท้าทาย’ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรในธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หากต้องการประสบความสำเร็จแล้วจะต้องเตรียมการปรับตัว และจะต้องบริหารจัดการความท้าทายเหล่านี้


1. มีส่วนร่วมมากกว่าการแข่งขัน

องค์กรหรือธุรกิจ จำเป็นต้องสร้างแนวทางหลักความคิดให้แก่บุคลากรในองค์กร ให้เข้าใจถึงคำว่า ‘การมีส่วนร่วม’ มากกว่า ‘การแข่งขัน’ เพื่อทำให้คนภายในองค์กรร่วมมือกันทำงาน พร้อมปรับตัว และพร้อมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


2. ขีดความสามารถของผู้นำ

เพราะ ‘ผู้นำ’ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการนำพาองค์กรหรือธุรกิจให้สามารถเติบโตอยู่รอดได้ใน VUCA World โดยต้องมีทักษะการสื่อสาร วิเคราะห์ตัดสินใจที่รวดเร็ว และต้องเป็นผู้นำเรื่อง Digital Transformation พร้อมชี้แนะวิธีปรับตัวให้แก่บุคลากรในองค์กรกับสถานการณ์ไม่คาดคิด ที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ


3. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

เมื่อมีแนวโน้มว่าองค์กรจะเริ่มปรับตัวไปเป็นองค์กร Digital มากขึ้น แน่นอนว่าผลกระทบที่จะตามมาคือ ‘ความกลัว’ ซึ่งคนในองค์กรย่อมมีความกลัว ความกังวลเป็นธรรมดา แต่จะทำอย่างไรให้ผู้คนเหล่านั้น สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ จึงเป็นความท้าทายสำหรับการจัดทำ Digital Transformation


4. การใช้ Reskill หรือ Upskill

การ Reskill และ Upskill คือ ‘หัวใจสำคัญ’ ที่ทำให้ตัวเราสามารถอยู่รอดต่อไปได้ในยุค VUCA World โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการพัฒนายกระดับทักษะที่มีให้ดีกว่าเดิม และสร้างทักษะขึ้นใหม่ที่จำเป็นต่อการทำงาน เพื่อให้ทำงานร่วมกับเครื่องมือดิจิทัล หรือระบบเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ


5. รับมือสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด

ต้องคอยปลูกฝังวัฒนธรรมภายในองค์กรให้คิดแบบ ‘มองไปข้างหน้า’ อยู่เสมอ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ตามกำหนด เพราะ VUCA World มีการเปลี่ยนแปลง และความผันผวนที่ไม่แน่นอน มีความซับซ้อน ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ หรือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ถือเป็นการพร้อมรับมือกับสิ่งที่ไม่อาจคาดคิดได้ดี


4 ปัจจัยอะไร ที่ทำให้การ Digital Transformation สำเร็จ

หลังหลายธุรกิจ หลายองค์กรเผชิญกับวิกฤตโรคไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดอย่างหนักเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา จำเป็นต้องมีการปรับตัว รับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต แต่ไม่ใช่ทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จจากการ Transformation ทันที หากอยากประสบความสำเร็จในการ Transform ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัย 4 ประการ ดังนี้


1. ข้อมูล

การรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ก่อนทำ Digital Transformation จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวัดประสิทธิภาพกระบวนการทำงานที่มีอยู่ โดยช่วยเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าองค์กรหรือธุรกิจ อยู่ในจุดไหน ใช้เวลาในการทำงานนานหรือไม่ เพื่อวิเคราะห์ว่าพร้อมปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือไม่ เป็นต้น


2. กระบวนการ

กระบวนการสำคัญในการ Transform องค์กรให้สำเร็จเลยนั้นก็คือ ‘ผู้นำ’ ต้องมี Vision และ Goal ให้สอดคล้องกับการตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ รวมไปถึงมีการสร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรภายในองค์กร พร้อมเพิ่มขีดความสามารถให้แก่พนักงาน และเตรียมรับมือสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนได้


3. เทคโนโลยี

ก่อนที่องค์กรหรือธุรกิจจะลงทุนนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้กับองค์กร ควรพิจารณาก่อนว่าเทคโนโลยีที่นำมานั้น ‘เหมาะสมกับองค์กรหรือไม่’ ซึ่งควรวางกลยุทธ์ ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และเพิ่มทักษะการทำงานให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่กำลังจะเข้ามา เพื่อให้ Skill ของบุคลากรมีประสิทธิภาพมากที่สุด


4. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

หากองค์กรหรือธุรกิจทำการ Transformation จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ส่งผลให้บุคลากรเกิด ‘ความกลัว’ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าหาก ‘ผู้นำ’ สามารถโน้มน้าว และนำพาบุคลากรให้มีความพร้อมในการปรับตัว ยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ จะทำให้องค์กรหรือธุรกิจ Transform สำเร็จได้อย่างแน่นอน


เหุผลที่ทำให้ Digital Transformation ไม่สำเร็จ


อย่างที่รู้กันว่า Digital Transformation เป็นการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาให้องค์กรดีขึ้น บุคลากรมีรูปแบบการทำงานคล่องตัวขึ้น ท้ายที่สุดเป้าหมายของการ Transform คือ นำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของทุกคนได้สำเร็จ และให้อยู่ในรูปแบบ ‘Automation’ หรือระบบอัตโนมัติทั้งหมด ทว่าอาจดูเหมือนง่าย แต่หลายองค์กร และหลายธุรกิจพยายาม Transform แต่ก็ไม่สำเร็จ ซึ่งมาจากปัจจัยเหล่านี้


1. ความน่าเชื่อถือ (Trust)

เมื่อเกิดการ Transform ทำให้บุคลากรในองค์กรไม่เชื่อมั่นในเทคโนโลยี ผู้นำ ผู้บริหาร และเกิดความกลัวการเปลี่ยนแปลง ส่งผลปรับตัวได้ช้า ให้ความร่วมมือในการทำงานค่อนข้างต่ำ จึงเป็นผลให้องค์กรหรือธุรกิจไม่สามารถ Transformation ได้สำเร็จ


2. ความชัดเจน (Clarity)

หากองค์กรหรือธุรกิจต้องการ Transform โดยที่ไม่ได้วางแผนด้านกลยุทธ์ หรือทิศทางในการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงไม่จัดลำดับความสำคัญต่าง ๆ ส่งผลให้บุคลากรภายในองค์กรไม่มีเป้าหมายเดียวกัน และเกิดความไม่ชัดเจนในตัวผู้นำหรือองค์กร อีกทั้งการสื่อสารภายในองค์กรจะยิ่งต่ำลงไปอีกด้วย


3. การจัดตำแหน่ง (Alignment)

แน่นอนว่าทุกองค์กร ทุกธุรกิจ มี ‘โครงสร้างองค์กร’ กันอยู่แล้ว โดยที่ ‘บุคลากร’ รอรับคำสั่งจากผู้นำ และการตัดสินต่าง ๆ ก็ต้องรอผู้นำ รวมไปถึงต้องได้รับการอนุมัติจากผู้นำเช่นกัน แต่เมื่อใช้ Digital Transformation ทำให้โครงสร้างการทำงานเปลี่ยนไป ลดขั้นตอนการทำงานลง ส่งผลให้ปรับตัวไม่ทันและผลลัพธ์ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร


4. ผู้คน (People)

สำหรับการ Transformation ‘ผู้คน’ คือสิ่งสำคัญที่สุด เพราะหากปรับตัวกับเทคโนโลยีได้สำเร็จ จะช่วยให้องค์กรและธุรกิจเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แต่ถ้า ‘ผู้นำ’ ไม่สามารถปรับ ‘Mindset’ ให้เข้ากับ ‘ผู้คน’ และไม่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว ก็ทำให้องค์กรหรือธุรกิจ Transform ไม่สำเร็จ


สรุป

หากองค์กรหรือธุรกิจต้องการปรับตัวเข้าสู่กระบวนการ Digital Transformation ในปี 2023 ตอบได้เลยว่า ทันแน่นอน! เพราะด้วยยุค VUCA World ที่มีความผันผวน ความไม่แน่นอนเกิดขึ้นมากมาย ทำให้หลาย ๆ องค์กรและธุรกิจต้องปรับตัวในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ เพื่อ ‘เพิ่มโอกาส’ และ ‘การเติบโต’ ให้ ‘เหนือคู่แข่ง’ รวมไปถึงองค์กรและธุรกิจ สามารถอยู่รอดได้ในยุค VUCA ที่ทุกอย่างต้องขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและระบบ Digital ทั้งหมด อย่างไรก็ตามการที่โลกหมุนเร็วเช่นนี้แล้ว จะส่งผลให้คนเกิดความกลัวในการเปลี่ยนแปลง และไม่ยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้ามา จะทำให้องค์กรหรือธุรกิจเติบโตได้ช้า ซึ่งหากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี ทำให้คู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันแซงหน้าไป จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ‘ทำไมต้องเข้าสู่กระบวน Digital Transformation’ นั่นเอง


 
 
 

Comments


bottom of page