top of page
  • รูปภาพนักเขียนNatchananphorn Phattharathammaphon

Data Analysis ตัวช่วยธุรกิจให้เติบโต มีชัยเหนือคู่แข่ง

อัปเดตเมื่อ 18 ก.พ. 2566





สิ่งที่สำคัญกว่า 'ทองคำ' ในยุคดิจิลแบบนี้คือ 'Data' หรือ 'ข้อมูล' ของลูกค้าที่หาหรือเก็บมาได้ ก็คงไม่เกินจริงนัก เพราะการซื้อขายแพงเสียงยิ่งกว่าทองคำเสียอีก Data นั้นแล้วถูกพูดถึงมานานหลายปี และถูกนำมาใช้ในวงการธุรกิจตั้งแต่ปี 1960 แต่ก็มีไม่กี่องค์กรเท่านั้นที่จะหา Insight หรือ ‘เบื้องหลังของข้อมูล’ มาใช้ได้ตรงจุดประสงค์


จนในปี 2023 ปัจจุบัน ความสำเร็จในการนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ ที่เห็นได้ชัดก็คงจะไม่พ้นองค์กรระดับโลกอย่าง Google, Apple, Amazon และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยสามารถ ‘สร้างมูลค่า’ มหาศาลจากการใช้ ‘Data Analysis’ ส่งผลในเรื่องการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นด้านแผนการตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้การใช้ Data Analysis จะช่วยทำให้ข้อมูลจากผลประกอบการที่ผ่านมา กลายเป็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อทำให้ยอดขายเป็นไปตามที่กำหนดเอาไว้ และวันนี้ DigiTech จะมาพูดถึง Data Analysis ว่าช่วยสร้างมูลค่าให้กับองค์กรหรือธุรกิจได้อย่างไร มาดูพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

DATA คืออะไร
คำว่า Data (เดต้า) คือ ข้อมูล ที่ถูกจัดเก็บขึ้นซึ่งเป็นข้อเท็จจริง ที่ยังไม่ได้ถูกจัดการ จัดกลุ่ม หรือถูกตีความ ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านั้นอาจจะมีหรือไม่มีความหมายในตัวเอง ถูกจัดเก็บในรูปแบบที่สามารถใช้สื่อสาร แปลความหมาย ประมวลผล หรือใช้ประโยชน์ต่อได้ เช่น ตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข จำนวน สัญลักษณ์ รูปภาพ คำบรรยายลักษณะ เสียง เป็นต้น

Data Analysis คืออะไร?


Data Analysis คือ การวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ หรือสร้างมูลค่าให้เป็นไปตามที่กำหนด โดยข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์มีทั้งข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน รวมไปถึงคาดการณ์ข้อมูลในอนาคต ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสายงานอย่าง Digital Marketing, Marketing Research, Strategic Planning จำเป็นต้องใช้ ‘ข้อมูลเชิงลึก (Insight) หรือ ข้อสรุป (Conclusion)’ ที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หาสาเหตุปรับปรุง และการแก้ปัญหาต่าง ๆ รวมถึงช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ Project ได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อวงการธุรกิจทั้ง Offline และ Online มีคู่แข่งเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจำเป็นต้องใช้ ‘Data Analysis’ โดยจัดเก็บข้อมูลจากความคิดเห็นของลูกค้า เพื่อนำมาวางแผนออกแคมเปญใหม่ ๆ ให้ตรงความต้องการลูกค้า หรือการวิเคราะห์จากสถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ที่เยอะ แต่ยอดขายกลับสวนทาง ถือเป็นส่วนสำคัญนำมาใช้ปรับมุมมองทางการตลาดได้เช่นกัน และหากธุรกิจไหนจัดทำการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่บ่อยครั้ง จะส่งผลให้ธุรกิจและนักการตลาดของคุณ ‘ได้เปรียบคู่แข่ง’ แน่นอน



Data Analysis ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างไร?


ก่อนที่จะนำ Data Analysis เข้ามาใช้เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจนั้น คุณจะต้องเริ่มจากการตั้งคำถามที่ดีเสียก่อน อาทิเช่น ผลประกอบการของสาขาอื่นเป็นอย่างไร มียอดขายเท่าไหร่ คนสนใจสินค้าหรือบริการอะไรบ้าง ฯลฯ และเมื่อตั้งคำถามต่าง ๆ ได้แล้ว ก็สามารถเจาะลึกไปถึง Insight รู้ว่าลูกค้าเป็นกลุ่มใด ซื้อเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และจะต่อยอดพัฒนาอย่างไรในแต่ละสาขา เพื่อให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย และได้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ก็มีใจความสำคัญหลักของ ‘Data Analysis’ ที่ช่วยสร้างมูลค่าและผลักดันธุรกิจให้เติบโตได้ต่อเนื่อง มี 2 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้


Data Mining (เหมืองข้อมูล)

Data Mining คือ เปลี่ยนข้อมูลดิบที่ได้มาให้กลายเป็น ‘ฐานข้อมูล’ ที่มีคุณภาพ โดยมาจากการค้นหาข้อมูลจำนวนมากจาก ‘Big Data’ (แหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) หรือที่เรียกว่าการทำเหมืองข้อมูล เพื่อนำมาวิเคราะห์ในเชิงสถิติ และหาจุดเชื่อมโยงใน ‘แต่ละชุด’ อย่างละเอียด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน โดยมีขั้นตอนในการตัดสินใจ 5 ขั้นตอน ดังนี้


  1. Collection คือ รวบรวมข้อมูลจาก Big Data ด้วยการกรอกข้อมูลเข้าระบบ Cloud และ Server ถือฐานข้อมูลขนาดใหญ่ขององค์กรนั้น ๆ เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาทำให้เป็นข้อมูลชุดเดียวกัน

  2. Understanding คือ ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึก เช่น การทำความเข้าใจปัญหาของธุรกิจและวิเคราะห์ข้อมูลในการแก้ปัญหา รวมไปถึงทำความเข้าใจข้อมูลคำถามที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เป็นต้น

  3. Preparation คือ จัดเตรียมชุดข้อมูลที่ผ่านการคัดกรองและได้รับการยืนยันแล้ว โดยข้อมูลจะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบฟอร์มต่าง ๆ เช่น Excel, SpreadSheet, Google Form ฯลฯ

  4. Modeling คือ จำลองข้อมูล ด้วยการกำหนดชุดข้อมูลขึ้นมาจาก Diagram หรือแผนภาพแสดงวิธีการแก้ปัญหา เพื่อเป็นการจำลองคาดการณ์ต่าง ๆ สามารถประมาณค่าตามที่ต้องการได้

  5. Evaluation คือ การประเมินผลลัพธ์ที่ได้จากการจำลองข้อมูลก่อนหน้านี้ จะถูกนำประเมินเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดในธุรกิจ ส่งผลให้รับมือสถานการณ์ล่วงหน้าได้ทัน

เมื่อจัดทำ Data Mining ทั้ง 5 ขั้นตอน จะช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กร สามารถหาความเป็นไปได้และการมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ทางการตลาด ส่งผลให้ธุรกิจและองค์กรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง


Market Analysis (การวิเคราะห์สถานการณ์ในตลาด)


Market Analysis คือ การวิเคราะห์เชิงการตลาดผ่านฐานข้อมูลภายในองค์กร เพื่อกำหนดค่าความต้องการของตลาดทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งการทำ Market Analysis เริ่มจากการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนของธุรกิจ เพื่อจัดหาแนวโน้มหรือแนวทางในการเพิ่มยอดขาย ช่องทางวางจำหน่ายหรือบริการให้มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับตลาดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การวิเคราะห์สถานการณ์ในตลาด จะช่วยให้ธุรกิจหรือองค์กร ลดต้นทุนทางการตลาดได้ เพราะไม่เสียค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณา และมีสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย และตรงกับความต้องการมากที่สุด


อย่างไรก็ตาม Data Analysis จะทำหน้าที่เอาข้อมูลมาวิเคราะห์แนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าขององค์กร โดยเป็นการใช้สถิติและตัวเลข เพื่อการคาดการณ์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และองค์กรหรือธุรกิจสามารถวางแผนการตลาดได้สมบูรณ์แบบ เกิดผลตอบแทนธุรกิจได้ดี มากกว่าการใช้สัญชาตญาณในการทำการตลาดเพียงอย่างเดียว อีกทั้งช่วยให้รู้จักกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าได้มากขึ้น แม้แต่เห็นมุมมองการเติบโตในตลาดได้กว้างยิ่งขึ้นอีกด้วย

สรุป

ถ้าหากใช้ Data Analysis จะผลักดันให้ธุรกิจเติบโตได้ไม่สิ้นสุด แต่จะเริ่มต้นใช้ได้นั้นจำเป็นต้องตั้งคำถามให้ถูกต้อง ซึ่งต้องสอดคล้องกับปัญหาที่กำลังเกิดภายในองค์กรหรือธุรกิจ เช่น มีคนสนใจสินค้าและบริการเยอะ แต่รายได้หรือยอดขายกลับสวนทางอย่างสิ้นเชิง เป็นต้น จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ Market และ Data ไปพร้อม ๆ กัน ก็จะยิ่งทำให้สร้างมูลค่าจาก Data ของธุรกิจได้สำเร็จ และเป็นการทำให้คุณนั้น “ได้เปรียบและเหนือคู่แข่งได้อย่างแน่นอน”


ดู 34 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page