top of page
  • รูปภาพนักเขียนNatchananphorn Phattharathammaphon

4 เคล็ดลับ Servants Leadership ผู้นำแบบ ผู้รับใช้ มัดใจลูกน้อง

อัปเดตเมื่อ 18 ก.พ. 2566



การมีอำนาจทำให้ ‘ผู้นำ’ หลาย ๆ คนชื่นชอบการควบคุม และชื่นชมในผลลัพธ์ที่ได้กลับมาเสมอ ซึ่งผู้นำเหล่านี้จะมอง ‘พนักงาน’ เป็นเพียงหนทางที่ไปสู่ผลลัพธ์เท่านั้น แต่รู้หรือไม่? พนักงานทั้งเกิดความกดดัน ความกลัว ที่อาจส่งผลต่อการทำงาน และได้ผลลัพธ์ไม่เต็มประสิทธิภาพในครั้งต่อ ๆ ไป หรือไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงทำให้พนักงานเกิดทัศนคติเชิงลบ มองว่าผู้นำเห็นแก่เป้าหมาย หรือผลลัพธ์เท่านั้น ส่งผลให้พนักงานกลัวการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ซึ่งมุมมองของผู้นำแบบนี้เรียกได้ว่าล้าสมัยอย่างมาก ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงเคล็ดลับ “ผู้นำแบบผู้รับใช้” (Servant leadership) ที่ช่วยให้พนักงานมีพลังทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และพร้อมสนับสนุนพนักงานในด้านต่าง ๆ เติบโตไปพร้อมกับองค์กรและธุรกิจได้เป็นอย่างดี

ผู้นำแบบผู้รับใช้ (Servant leadership) คืออะไร?


Servant Leadership หรือผู้นำที่เป็นผู้รับใช้ โดยแนวคิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาในปี 1970 โดย Robert K. Greenleaf ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารของ AT&T และปัจจุบัน Greenleaf ได้เสียชีวิตลงแล้ว แต่แนวคิด Servant Leadership คือ การที่ ‘ผู้นำ’ มองว่าบทบาทหลักของตัวเอง คือ ‘การรับใช้พนักงาน’ ผ่านการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้พวกเขาได้มีโอกาสเรียนรู้ สำรวจและเติบโตไปพร้อมกับองค์กร ซึ่งผู้นำลักษณะนี้จะคอยแสวงหาไอเดีย และการมีส่วนร่วมของพนักงานที่เขารับใช้ นำมาสร้างเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกัน และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น เพื่อดึงศักยภาพการทำงานของพนักงานให้ออกมาดีที่สุด


อย่างไรก็ตามผู้นำแบบ Servant Leadership หลายคนอาจคิดว่าไม่มีความเด็ดขาด แสดงถึงความอ่อนแอ ไม่มีอำนาจ แต่ในโลกความเป็นจริงอย่างทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ อยู่มากมาย รวมไปถึงทักษะ Skill ของผู้นำและพนักงาน ซึ่ง Servant Leadership นี่เองจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก ผลักดันทีมให้พัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมาย เพราะทุกองค์กรหากมีทีมที่มีศักยภาพ และมีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ องค์กรก็จะเติบโตและประสบความสำเร็จเร็วขึ้น อีกทั้ง Servant Leadership จะเห็นอกเห็นใจพนักงาน รับฟังความคิดเห็น ทำให้พนักงานทุกคนมีแรงกระตุ้น กระตือรือร้น และกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้นอีกด้วย


วิธีการเป็นผู้นำแบบผู้รับใช้ (Servant leadership) มีอะไรบ้าง?


1. เป็นผู้ฟังที่ดี

ฟังความคิดเห็นของลูกทีม ก่อนแสดงความคิดเห็นของตัวเองออกมาเพื่อให้รู้ว่าลูกทีมต้องการอะไร หรือรู้สึกอย่างไร

2. เยียวยาลูกทีมได้

ทำความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจลูกทีม ไม่เมินเฉยต่อปัญหาที่เกิดขึ้นระวังการใช้คำพูดที่บั่นทอนกำลังใจ ควรให้ความสำคัญกับอารมณ์ ความรู้สึก ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และสงบสุขในการทำงาน

3. รู้จักโน้มน้าว มากกว่าควบคุมบังคับ

ผู้นำที่ดี คือ คนที่สามารถโน้มน้าวใจผู้คนได้หลากหลายวิธี คอยสนับสนุนลูกทีม มากกว่าการใช้อำนาจของตัวเอง บังคับให้คนทำในสิ่งที่ต้องการ

4. สร้างบรรยากาศในที่ทำงานได้ดี

การที่ผู้นำสร้างชุมชน หรือที่เรียกว่า Community นั้น ก็เพื่อให้ทีมงานได้พูดคุยกัน และได้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนในที่ทำงานกับผู้บริหารระดับสูง อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะทำให้ทีมเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร ทำให้พนักงานและผู้นำพาองค์กรก้าวไปข้างหน้าด้วยกัน

และหนึ่งในบริษัทที่เชื่อว่า การบริหารที่โฟกัสพนักงานมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะผลิตพนักงานที่มีทักษะ ความสามารถ มีความรู้ และมีแรงจูงใจ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงการดำเนินงานโดยรวม และช่วยให้ปัญหาภายในองค์กรนั้นดีขึ้น


ดู 337 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page