google ads
top of page
ค้นหา

3 เหตุผลที่ควรทำ Digital Transformation สายงาน Finance & Accounting

  • รูปภาพนักเขียน: Natchananphorn Phattharathammaphon
    Natchananphorn Phattharathammaphon
  • 30 ม.ค. 2566
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 22 ก.พ. 2566





ในยุคที่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมีบทบาทสำคัญ ต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ โดยเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดขั้นตอนการทำงานให้น้อยลง แต่ทว่าทุกสายงานก็มีความกังวลในเรื่อง Digital Disruption เพราะเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนการทำงานของคน และทำให้หลายๆ คนกังวลที่จะตกงานกันมากขึ้น ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่นำเทคโนโลยีมาเปลี่ยนแปลงการทำงานที่พบเห็นได้ชัดมากที่สุด นั้นก็คือ อุตสาหกรรม Finance & Accounting ด้วยการจัดทำ Digital Transformation บ่อยที่สุด เพื่อที่จะให้องค์กรสามารถอยู่รอดในโลกที่ผันผวนอย่างรวดเร็วและเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปได้

อย่างไรก็ตามองค์กรที่ได้รับผลกระทบจากการ Disruption และไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จะทำให้องค์กรเสียเปรียบคู่แข่งในทุก ๆ ด้าน แต่ในทางกลับกันหากองค์กรจัดทำ Digital Transformation และสามารถปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีได้ จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มโอกาสเหนือคู่แข่งได้อย่างแน่นอน ซึ่งวันนี้ DigiTech จะมาบอก 3 คุณประโยชน์ที่อุตสาหกรรมการเงินและบัญชีจัดทำ Digital Transformation ยกระดับสายงานให้มีประสิทธิภาพและเหนือคู่แข่งได้ ดังต่อไปนี้


1. Efficiency

การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานเป็นความสำเร็จที่เกิดขึ้นมากที่สุดในการทำ Digital Transformation เพราะย้ายข้อมูลให้อยู่ในระบบ Digital ช่วยเพิ่มความคล่องตัวการทำงาน และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น รวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ จะช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดขั้นตอนการทำงานของพนักงานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นการยกระดับมาตรฐานขององค์กร ซึ่งตรงกับ ‘กระแสสำคัญ’ที่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพ ดังนี้

  • Robotic Process Automation (RPA) เป็นการนำหุ่นยนต์ หรือ Robot เข้ามาทำงานแทนมนุษย์ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีอย่าง Rule Engine, Impage Recognition, Marchine Learning - ML และ Artificial Intelligence – AI ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีผลลัพธ์ที่ดี และลดปัญหา Human Error ที่มักจะเกิดได้บ่อยครั้ง โดยสามารถพบได้ว่าหลายอุตสาหกรรมอย่างเช่น การเงินและธนาคาร ประกันภัย ธุรกิจด้านสุขภาพ เป็นต้น เริ่มต้นใช้งานระบบ RPA และมีการปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยีอีกด้วย

  • Enterprise Resource Planning Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กร โดยจัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบ Database เป็นหลัก ช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ทั้งหมด และฝ่ายต่าง ๆ ก็สามารถดึงข้อมูลออกมาใช้งานได้แบบ Real-Time ถือเป็นการให้องค์กรสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นระบบกับทุกฝ่าย

  • Cloud Computing ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเช่าระบบ Cloud อย่างเช่น Amazon Web Services (AWS), Microsoft Azure และ Google Cloud Platform (GCP) เป็นต้น โดยเช่าระบบทรัพยากรคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ Cloud มีความครอบคลุมตั้งแต่ Hardware และ Software ซึ่งใช้สำหรับประมวลผล จัดเก็บข้อมูล และช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้องค์กรสามารถเพิ่ม-ลดการใช้ Cloud ได้ตามที่ต้องการ ช่วยให้องค์กรสามารถลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง Server และค่าบำรุงรักษาด้านไอทีในระยะยาวได้

2. Trust & Governance

การใช้เทคโนโลยีในธุรกิจการเงินและบัญชี ช่วยสร้างมาตรฐานความน่าเชื่อถือและมีความโปร่งใส ยกตัวอย่างเช่น การทำ Data Architecture หรือการวาง Workflow ภายในองค์กร ซึ่งอาจรวมทั้งงาน Hardware และ Software รวมไปถึงหน้าที่ในการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้องและคล่องตัว อีกทั้งสามารถเรียกใช้งานข้อมูลได้รวดเร็ว ถือเป็นการสร้างข้อได้เปรียบในทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี


3. Intelligence

ในอดีตจะเห็นได้ว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การบัญชีจะมุ่งเน้นในเรื่องการตรวจสอบ แต่ในปัจจุบันข้อมูลทางบัญชีต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบ Digital ช่วยให้กระบวนการวิเคราะห์ (Data Analytics) หรือ ERP วางแผนบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การนำเทคโนโลยีเข้ามาตรวจสอบบัญชี ยังช่วยเพิ่มความถูกต้องและแม่นยำ โดยมีการพัฒนา Software ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงินและการบัญชีมากมาย อาทิ

  • Innovation in Tax Software เป็น Software ที่เข้ามาช่วยจัดการในเรื่อง ‘เอกสารทางภาษี’ ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน โดยถูกออกแบบให้เป็น Software ที่รองรับการใช้งานผ่านมือถือ และเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ อย่าง ERP ซึ่ง Software นี้จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เพิ่มความคล่องตัว และความถูกต้องในการจัดเอกสารผ่านระบบ Digital มากยิ่งขึ้น

  • Accounting Software (AS) Accounting Software ช่วยให้นักบัญชีสามารถตรวจสอบบัญชีได้สะดวกทั้งภายในและภายนอก อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลทางบัญชีไปประเมินสถานะทางการเงินขององค์กรหรือธุรกิจ รวมไปถึงการใช้ข้อมูลเชิงลึก หรือ Insight ตัดสินใจทางธุรกิจให้มีความแม่นยำมากขึ้น และช่วยประหยัดเวลาการทำงานได้อีกด้วย

สรุป

ทักษะสกิลบางอย่างอาจสำคัญในวันนี้ แต่อาจไม่จำเป็นในวันหน้า ซึ่งมีธุรกิจและอาชีพมากมายหายไปจากตลาด เพราะเทคโนโลยี…แต่ตราบใดที่องค์กรสามารถ ‘ปรับตัว’ ตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความผันผวนตลอดเวลา และยังคงสามารถสร้างมูลค่าทางธุรกิจให้กับ Stakeholders ที่เกี่ยวข้องได้ การเผชิญหน้ากับ Digital Disruption ก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลและยังสามารถเติบโตก้าวหน้าอยู่รอดต่อไปได้แน่นอน


 
 
 

Comments


bottom of page